Prasat Phra Viharn --Temple of Preah Vihear

สำหรับคนไทยเรา คำว่า "เขาพระวิหาร" อาจหมายถึง ตัวภูเขา หรือ ตัวอาคารปราสาท ที่อยู่บน ภูเขาพระวิหาร   โดยที่แต่เดิมนั้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรส ใน รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ขณะทรงเป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ ไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อิสานใต้) ในสมัยรัชกาลที่ แล้วทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนาม ตรงบริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี ว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ" เลข ๑๑๘ คือปีนับ ตามปี ร ศ หรือ รัตนโกสินทร์ศก ที่ขณะนั้น วันเปลี่ยนปีเก่าใหม่ แตกต่างกับปัจจุบัน แล้วทรงเรียกว่า "ปราสาทพรหมวิหาร" แปลว่า อาคารวิหารอันศักดิ์สิทธิ์ของพระพรหม ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "ปราสาทพระวิหาร" เขมรก็เรียกตามว่า ปราสาทเปรี๊ยะวิเฮียร์ ตามฝรั่งเศสที่เขียนตามไทยว่า Prasat Preah Vihear เพราะชื่อนี้ ไม่มีในหลักฐานของเขมรมาก่อน ภาษาเขมรพื้นเมือง ที่ใช้ในสมัยนี้ คือคำว่า เป้ยตาดี แปลว่า ชะง่อนผา ของนายดี อันเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสูงโคราช ตามหลักวิชาการภูมิศาสตร์สากล

 

ตามจารึกที่ค้บพบ ในบริเวณ เขาพระวิหาร เป็นภาษาสันสกฤต เรียกว่า จารึกศิวะศักติ เชื่อว่าเริ่มสร้างสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (คศ 1889-1900 พ.ศ. 1432-1443) เป็น "ภวาลัย" ห้กับจ้าเมืองในแถบนั้นที่อยู่ในตระกูล ของ "พระนางกัมพูชาลักษมี" พระมเหสีของพระองค์   "ภวาลัย" จากพจนานุกรม มาจากคำว่า ภวนะ+ อาลัย โดยที่ ภวนะ แปลว่า เรือนขนาดใหญ และ อาลัย แปลว่า ที่อยู่ที่พัก ดังนั้น "ภวาลัย" จึงหมายความว่า ที่ตั้งของอาคารขนาดใหญ่ เชื่อกันว่า ใช้เป็นที่บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สืงสถิตย์อยู่บนเขานั้น

โดยบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของ อาณาจักรฟูนัน คำว่า ฟูนัน คำนี้ ใกล้เคียงกับคำว่า พนม ในภาษาเขมร แล้วชื่อเทือกเขาแถวนั้น ก็เรียกตามภาษาเขมรว่า พนมดงเร็ก โดย ดงเร็ก ในภาษาเขมรแปลว่า ไม้คาน ที่ใช้หามสิ่งของ  พนมดงเร็ก จึงแปลว่า ภูเขา ที่มีรูปร่างเหมือน ไม้คาน

 

สมัยปี คศ 993 หรือ พ.ศ. 1436ในสมัยพระเจ้ายโศวรมัน มีจารึกสถาปนา เป็น ศรีศิขเรศวร แปลว่า ภูเขาแห่งพระอิศวร จากคำว่า "ศิขร" (ภูเขา) และ "อิศวร" แต่ส่วนใหญ่สร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1(คศ 1002 -1050) (มีจารึกที่กรอบประตูโคปุระชั้นที่ 2 ว่า "สูรยวรรมเทวะ" และปี 1038  (พ.ศ. 1581) พอถึง พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (คศ 1113 -1150)จารึกกล่าวไว้ว่า พระองค์ส่งพรามหณ์ ชื่อ "ทิวากรบัณฑิต" มาบวงสรวงพระศิวะทุกปี แล้วมีชุมชนที่กษัตรืย์อุทิศให้รับใช้เทวสถาน ชุมชนมีชื่อในจารึกอย่างเช่น กุรุเกษตร, พะนุรทะนง

ยังไม่พบหลักฐานว่า‘ปราสาทเขาพระวิหาร’ ถูกทิ้งปล่อยให้ร้างเมื่อไร แต่ที่แน่นอนคือหลังปี พ.ศ. ๑๙๗๔ (ค.ศ. ๑๔๓๑) ภายหลังที่กรุงศรียโสธรปุระ (นครวัดนครธม)แตก เสียให้แก่กองทัพของกรุงศรีอยุธยา ในสมัยของพระเจ้าสามพระยา จนขะแมร์กัมพูชาต้องหนีย้ายเมืองหลวงไปอยู่ ละแวก อุดงมีชัย แล้วย้ายมาที่ พนมเปญ เมื่อ พศ ๒๔๐๘ ตามคำแนะนำของ ฝรั่งเศส ตรงกับปลายรัชกาลที่ ๔ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ปราสาทเขาพระวิหาร นอกจากจะอยู่บนหน้าผาที่สูงชันราว ๕๐๐ เมตรแล้ว ก็ยังอยู่ห่างจากนครวัด ที่อยู่ทางทิศใตัอีกราว ๒๐๐ กม.

เส้นทางต้องผ่านป่าทึบ จึงยากลำบาก ต่อการเดินทางจากนครวัดราชธานี หรือจากเมืองอื่นของเขมร บริเวณด้านล่างเชิงเขาที่อยูในเขมร จึงเป็นที่ตั้งกองกำลังเขมรแดงของ พอลพต

อีกสาเหตุหนึ่งที่เชื่อกันว่า ปราสาทพระวิหาร มีไว้สำหรับชุมชนใกล้เคียงในอีสานใต้ของไทย แต่ไม่ใช่ของชุมชนในเขมรก็คือ

จากนครวัด ไม่มีเส้นทางเชื่อมตรงแล้ว ก็ยังไม่มี อโรคยาศาล ตั้งใกล้เคียงเลย อโรคยาศาล นี้  พระเจ้าชัย วรมันที่ 7 สร้างขึ้นไว้ทั่ว ราชอาณาจักรขอม  ในระหว่าง พ.ศ. 1724-1758 โดยสร้างไว้เป็นรยะๆ

 เพื่อไปยังปราสาทต่างๆในอาณาจักรขอม    แต่ก็ไม่มี อโรคยา ใกล้กับ ปราสาทพระวิหาร แต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามการเดินทางจากปราสาทเกาะแกร์ ปราสาทกระบี่ ก็ต้องผ่านป่าทึบ ทำให้การเดินทางไม่สะดวกยุ่งยากลำบาก มาจนปัจจุบันนี้

 

ตรงกันข้ามกับที่ลักษณะการก่อสร้างและลักษณะภูมิศาสตร์ ที่ค่อยๆลาดลงไปทางด้านเหนืออันเป็นบริเวณอีสานใต้ของไทย

จึงเชื่อกันว่า ปราสาทเขาพระวิหาร สร้างขี้นเพื่อชุมชนท้องถิ่นในอิสานใต้ของไทย ดังนั้นเส้นทางที่เดินทางไปตัวปราสาทเขาพระวิหาร จึงได้สะดวกสบาย

โดยที่ชุมชนเหล่านี้ ดั้งเดิมเป็นส่วนหนึง ของ เจนฬาบก แห่ง อาณาจักรเจนฬา อันเป็นรัฐหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน ในอดืต

 

ต่อมาเมื่อประมาณ ๑๐๐ กว่าปีมานี้ ฝรั่งเศสได้ทั้งเวียดนาม ทั้งลาว และกัมพูชา ไปเป็น ‘อาณานิคม’ ก็พยามยามแพร่ขยายอิทธิพล

จนพอสมัย ร ๔ ไทยก็เริ่มเสียเขมรส่วนนอกและเกาะ ๖ เกาะ ให้ฝรั่งเศส พอสมัย ร ๕  ร.ศ. ๑๑๒ ฝรั่งเศส ใข้กำลังทหารเข้ายึดเมืองจันทบุรี เมืองตราด และเมืองด่านซ้าย

จนกระทั่งเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗) ที่พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จยุโรปเป็นครั้งที่ ๒ (ครั้งที่ทรงแต่งเรื่อง ‘ไกลบ้าน’)

 จึงได้ทรงลงนามสัตยาบันในสัญญากับประธานาธิบดีฝรั่งเศส การตัดสินใจของไทยได้รับการสนับสนุนจากที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศ ชาวอเมริกัน

ชื่อ นายสโตเบล (Stoebel) แลกเปลี่ยนยกดินแดนเสียมราฐ หรือ สยามรัฐ (อันเป็นที่ตั้งของนครวัดนครธมหรือกรุงศรียโสธรปุระ) กับพระตะบอง และศรีโสภณให้กับฝรั่งเศส

เพื่อแลกเปลี่ยนจนได้ ‘จันทบุรี ตราด และด่านซ้าย (เลย)’ กลับคืนมา โดยจันทบุรี นั้นฝรั่งเศสคืนมาให้ก่อนเมื่อ พ.. 2447

ต่อมา เมื่อเดือนตุลาคม 2483 นิสิตนักศึกษาของไทย เดินขบวนเรียกร้องดินแดน "มณฑลบูรพา" และ "ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง"

จนในที่สุดในปี 2484 ได้เกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสที่เรียกว่า "สงครามอินโดจีน" ขณะที่การรบยังติดพันอยู่นั้น ญี่ปุ่นได้ยื่นมือเข้ามาไกล่เกลี่ย

ทำให้ไทยได้รับประโยชน์ตามสนธิสัญญาโตเกียว ค.ศ.1941 (พ.ศ.๒๔๙๔)  ฝรั่งเศสยอมรับสิทธิของไทยเหนือพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ

(ซึ่งรวมทั้งที่อยู่ในลาว และอยู่ในบริเวณพนมดงรัก เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร และเมืองจอมกระสาน)และส่วนหนึ่งของจำปาศักดิ์ ของลาว

ตลอดจนถึงไซยะบูลี (จังหวัดนี้อยู่ตรงข้ามหลวงพระบาง เปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆ คือ จังหวัดลานช้าง คำว่า "ลาน" ในสมัยนั้นยังไม่มีไม้โท)

กษัตริย์กัมพูชา คือ พระเจ้ามุนีวงศ์ เมื่อทรงทราบการสูญเสียดินแดนให้ไทย ก็ทรงพิโรธฝรั่งเศสมาก ถึงกับไม่ยอมสนทนากับข้าราชการฝรั่งเศส

 เมื่อพระเจ้ามุนีวงศ์ สิ้นพระชนม์แล้ว เจ้านโรดม สีหนุ ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เขมรสืบต่อ

หลัง สงครามโลก ครั้งที่ 2 รัฐบาลของไทย สมัย ปรีดี พนมยงค์ ก็ต้องคืนดินแดนที่ได้มาทั้งหมด คือดินแดนในอินโดจีนของฝรั่งเศส ที่กล่าวข้างต้น

และเมืองขึ้นของอังกฤษ เช่น เมืองเชียงตุง เมืองพานในพม่า หรือ 4 รัฐมลายู ที่ชื่อเป็นไทยๆ ว่า "สี่รัฐมาลัย" คือ กลันตัน ตรังกานู ปะลิส และเคดะห์

เดือนมิถุนายน 2496 เจ้านโรดม สีหนุ และคณะเดินทางเข้ามาประเทศไทยอย่างกะทันหัน เพื่อต่อต้านฝรั่งเศส และเพื่อเรียกร้องเอกราช

จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นในเมืองไทย ฝ่ายรัฐบาลไทยให้การต้อนรับขับสู้เจ้าสีหนุกับคณะเป็นอย่างดี  และออกค่าใช้จ่ายให้

ต่อมาไทยใด้กลับขึ้นไปและชักธงไตรรงค์อยู่บนปราสาทเขาพระวิหารนั้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2497 (1954)

ต่อมาปี 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ปี 2501 เดือนพฤศจิกายน กัมพูชาประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย

ในเดือนมกราคม 2502 เจ้าสีหนุประกาศว่า ไทยมีแผนการโค่นล้มระบอบการปกครองของพระองค์
เมื่อ 6 ตุลาคม 2502 (1959) กัมพูชายื่นฟ้องต่อศาลโลก (International Court of Justice) กล่าวหาว่าไทยยึดครองเขาพระวิหารดินแดนของกัมพูชา

http://www.prachatai.com/journal/2008/06/17146

http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=msulaw&id=1531

โดยเขมรขอให้ศาลโลกตัดสินให้เขมรชนะ ๕ ข้อดังนี้

แต่ศาลโลก ก็ไม่ได้ตัดสิน ตามที่เขมรขอ ในข้อ ๑ และ ๒ แต่ตัดสินให้ เขมรชนะ ในข้อ ๓ ๔ และ ๕ ดังนี้

 

สมัยก่อนส่วนใหญ่ก็รู้เพียงว่า เราแพ้เพราะถูกโกงเรื่องแผนที่ ที่ไม่ใช้ีเส้นสันปันน้ำเป็นเขตุแดน ตามที่ตกลงกันระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

่โดยไทยปล่อยให้ฝรั่งเศส เขียนพิมพ์แผนที่ฝ่ายเดียว ฝรั่งเศสก็เขียนเส้นแบ่งเขตุแดนไทยกับเขมร แล้วให้ตัว ปราสาทพระวิหารอยู่นอกเขตประเทศไทย 

แล้วส่งแผนที่ นี้ ให้ไทย เมื่อปี พศ ๒๔๕๑ จากบันทึก การพิจารณาขั้นเนื้อหา ของคำพิพากษาของศาลโลก  จึงรู้ว่า กรรมการผู้ที่ไปทำแผนที่บริเวณ เขาพระวิหาร

มีเพียงคนเดียว เป็นนายทหารเขมรชื่อ ร้อยเอก อุ่ม ตามข้อความ.......ในการประชุมครั้งเดียวกัน คือ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม คศ ๑๙๐๖ ได้มีการตกลงกันด้วยว่า

ร้อยเอกอุ่ม กรรมการผู้หนึ่งฝ่ายฝรั่งเศสจะเป็นผู้สำรวจเขาดงรักด้านตะวันออกทั้งหมด ซึ่งเป็นเขตที่พระวิหารตั้งอยู่โดยเริ่มต้นสำรวจจากจุดปลายตะวันออก

และว่าร้อยเอกอุ่ม จะออกเดินทางเพื่อการนี้ ในวันรุ่งขึ้น....

คำตัดสินของศาลโลก อ้างภาษิต ลาตินว่า...


....ผู้ที่เงียบเฉยอยู่ ย่อมถือว่ายินยอม ถ้าเขามีหน้าที่ที่จะพูดและสามารถจะพูดได้......

ไทยเราแย้งเพิ่มว่า มีแค่ข้าราชการผู้น้อยที่เห็นแผนที่ ที่ฝรั่งเศสทำผิด แต่เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ไมรู้่เห็น จึงไม่ได้คัดค้าน
 

ศาลบอกว่า...จะ เห็นได้ชัดจากหนังสือจากอ้ครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ที่ส่งไปยังเสนาบดี กระทรวงต่างประเทศในกรุงเทพ ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม คศ ๑๙๐๘

...ว่าได้มีผูู้็นำแผนที่ชุดหนึ่งมามอบให้เพื่อจัดส่งต่อไปยังเสนาบดี กระทรวงต่างประเทศสยาม... รวมทั้งแผนที่บริเวณทิวเขาดงรัก อย่างละ ๕๐ ชุด

อ้ครราชทูตลงท้ายด้วยว่า จะเก็บไว้ที่สถานอ้ครราชทูต อย่างละ ๒ ชุด และจะได้ส่งไปยังแผนที่อย่างละชุดไปยังสถานอ้ครราชทูต ณ กรุงลอนดอน

กรุงเบอร์ลิน ประเทศรัสเซียและสหรัฐอเมริกา.....

..ข้อที่ว่าเจ้าหน้าที่ สยามโดยการประพฤติปฏิบัติของตนเอง-ได้ตอบรับและทราบดีถึงลักษณะของ แผนที่เหล่านี้พร้อมทั้งสิ่งที่แผนที่เหล่านี้แสดงนั้น

จะเห็นได้ชัดจาก การที่เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย สมเด็จกรมพระยาดำรงฯได้ทรงขอบพระทัยอ้ครราชทูตฝรั่งเศส ณ กรุงเทพฯ สำหรับแผนที่เหล่านั้น

 และได้ทรงขอแผนที่ต่อ อ้ครราชทูตเพิ่มเติมอีกย่างละ ๑๕ ชุด เพื่อทรงจัดส่งไปให้ผู้ว่าราชการ จังหวัดต่างๆของสยาม".........


....จะเห็นได้ชัดว่าได้มีบุคคลอาทิ เช่น สมเด็จกรมพระยาเทวงศ์ฯ เสนาบดี กระทรวงต่างประเทศ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย


สมาชิกสยามในคณะกรรมการผสมชุดแรก และสมาชิกสยามในคณะกรรมการ ที่ได้ทรงเห็นหรือได้เห็นแผนที่เหล่านี้ และยังต้องสันนิษฐานด้วยว่า

แผนที่ภาคผนวก ๑ นี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ซี่งเป็นจังหวัดของสยามทีีมีเขตติดต่อกับอาณา บริเวณเขาพระวิหาร ก็ได้เห็นแล้วด้วย.....

บุคคลดังกล่าวข้างต้นนี้ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ ชั้นผู้น้อยเลย ทุกท่านหรือเกือบทุกท่านมีความรู้เกี่ยวกับท้องถื่นนี้ดี บางท่านคงต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาณาบริเวณเขาดงรัก

เป็นที่ชัดแจ้งจากเอกสารหลักฐานในคดีนี้ดีว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษในการปักปันเขตแดน และทรงมีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับโบราณสถาน....


......ในเรื่องนี้ เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดประกอบด้วยการเสด็จไปเยี่ยมพระวิหารใน คศ ๑๙๓๐ ( พศ ๒๔๗๓ สมัยรัชกาลที่ ๗ )ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ อดีตเสนาบดีกระทรวง

มหาดไทย และในขณะนั้นทรงเป็นนายกราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศสยามและทรงรับหน้าที่ เกี่ยวกับหอสมุดแห่งชาติและโบราณสถาน การเสด็จไปเยี่ยมนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของการ

 เดินทางไปสำรวจโบราณสถาน โดยพระบรมราชานุญาตของพระมหากษัตริยฺสยามและเห็นได้ชัดว่ามี ลักษณะกึ่งราชการ เมื่อเสด็จในกรมฯเสด็จถึงพระวิหาร ทรงได้รับการต้อนรับเป็น

ทางการจากข้าหลวงฝรั่งเศสของจังหวัดกัมพูชา ที่ติดต่อกับชายแดนในนามของข้าหลวงใหญ๋ฝรั่งเศสโดยมีธงฝรั่งเศสชักไว้สมเด็จ กรมพระยาดำรงฯ ไม่น่าที่จะไม่ทรงสังเกตเห็นผลที่

เนื่องมาจากการรับรองในลักษณะนี้ การยืนยันสิทธิทางด้านอินโดจีนฝรั่งเศสที่ชัดแจ้งกว่านี้ นึกคิดได้ยาก แต่ฝ่ายไทยก็ไม่ได้กระทำอะไร


นอกจากนั้น เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯแล้ว ยังได้ประทานรูปถ่ายที่ระลึกไปให้ข้าหลวงฝรั่งเศส พระองค์ทรงใช้ภาษาที่ดูเหมือนจะยอมรับว่า

โดยการกระทำของข้าหลวงฝรั่งเศสผู้นี้ ฝรั่งเศสได้กระทำเป็นประเทศเจ้าภาพ


ศาล ได้พิจารณาเห็นว่า คำอธิบายของทนายฝ่ายไทยเกี่ยวกับการเสด็จของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯครั้งนีฟัง ไม่ขึ้น เมื่อพิจารณาเหตการณฺ์เสด็จโดยตลอด

การกระทำเช่นนี้ก็เท่ากับการยอมรับโดยปริยายจากฝ่ายสยามในอธิปไตยของกัมพูชา (ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส)เหนือพระวิหาร
โดยการที่ไม่มีปฏิกิริยา ในทางใดๆ ในโอกาสที่จะต้องแสดงปฎิกิริยา เพื่อยืนยันหรือรักษาไว้ซึ่งกรรมสิทธ์ของตนในเมื่อมีข้อเรียกร้อง ของคู่แข่งขันที่ประจักษ์

สิ่งที่ปรากฏชัด คือว่าตามความเป็นจริง ประเทศสยามไม่ได้เชื่อว่า ตนมีกรรมสิทธิ์ใดๆ และ ข้อนี้ย่อมสอดคล้องกับท่าทีของไทยที่มีต่อแผนที่ ภาคผนวก ๑ ตลอดมา

และภายหลัง หรือมิฉะนั้นไทยก็ตกลงใจที่จะไม่อ้างสิทธิ ซึ่งก็หมายความอีกว่า ไทยได้ ยอมรับข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส หรือยอมรับเส้นเขตแดน ณ พระวิหาร

ตามที่ลากไว้บนแผนที่.........แนวการ ตัดสินเรื่องนี้ ก็คล้ายๆกับ คดีที่เพิ่งตัดสิน เมี่อเดือน พค ที่ผ่านมาคือ ระหว่าง มาเลเซีย กับ สิงค์โปร์ เรื่อง เกาะขนาด ๑ ไี่ร่เศษ

มีชื่อแปลว่า หินสีขาว ตามสีของขีัื้นก เป็นที่ตั้้้งประภาคาร ตรงทางเข้า ด้านตะวันออก ของช่องแคบสิงค์โปร์ โดยสิงค์โปร์ประท้วงการที่มาเลเซีย เขียนแผนที่เอาเกาะนี้ ไปอยู่ในเขตของมาเลเซีย มาเลเซียก็อ้างแผนที่เก่าๆ สัญญาเก่าๆ ว่าเกาะนี้เป็นของมาเลเซีย แต่ศาล ตัดสินให้เป็นของสิงค์โปร์ โดยบอกว่าสิงค์โปรเป็นคนติดตั้งบำรุงรักษา

และบริหารใช้ประภาคาร แต่ มาเลเซีย ไม่เคยคัดค้านในเรื่องนี้ ก็คล้ายๆกับ คดีปราสาทพระวิหาร ที่ไม่ว่าจะลักษณะภูมิประวัติศาสตร์ หรือแผนที่ที่ผิดตามสนธิสัญญา

ถ้าไม่ประท้วง ศาลก็ตัดสินแนวเดียวกัน

ดังนั้น เรื่องอะไรที่เกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ไทยเราจึงควรคัดค้านไว้ก่อน ไม่เออออห่อหมกง่ายๆ คงสงสัยว่า ทำไมไทยสมัยจอมพล สฤษดิ์ จึงถอนเจ้าหน้าที่จากตัวปราสาท

พระวิหาร ตามศาลโลก ก็คงอาจจะเป็นว่า เกรงใจเกรงกลัวสหประชาชาติ ก็ได้ ตรงข้ามกับ อเมริกา ที่ไม่กลัวไมเกรงใจสหประชาชาติ หลังจากแพ้คดีสัญญาสันติภาพ

กับนิคารากัว ราวปี ๒๕๒๕ ตอนแรกอเมริกา ประกาศถอนตัวไม่ยอมอยู่ใต้การพิจารณาของศาลโลก แต่ศาลโลกปฏิเสธ ๑๑ ต่อ ๑ และ ผลสุดท้ายศาลโลกตัดสินให้

อเมริกาต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับนิคารากัว แต่อเมริกา ก็ใช้สิทธิวีโต้ในสหประชาชาติเพียงเสียงเดียวของอเมริกา ไม่ทำตามศาลโลก อเมริกาก็ทำได้

คำตัดสินกรณีปราสาทพระวิหาร International Court

Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand)

Summary of the Summary of the Judgment of 15 June 1962

CASE CONCERNING THE TEMPLE OF PREAH VIHEAR
(MERITS)
Judgment of 15 June 1962

Proceedings in the case concerning the Temple of Preah Vihear, between Cambodia and Thailand, were instituted on 6 October 1959 by an Application of the Government of Cambodia; the Government of Thailand having raised two preliminary objections, the Court, by its Judgment of 26 May 1961, found that it had jurisdiction.

In its Judgment on the merits the Court, by nine votes to three, found that the Temple of Preah Vihear was situated in territory under the sovereignty of Cambodia and, in consequence, that Thailand was under an obligation to withdraw any military or police forces, or other guards or keepers, stationed by her at the Temple, or in its vicinity on Cambodian territory.

By seven votes to five, the Court found that Thailand was under an obligation to restore to Cambodia any sculptures, stelae, fragments of monuments, sandstone model and ancient pottery which might, since the date of the occupation of the Temple by Thailand in 1954, have been removed from the Temple or the Temple area by the Thai authorities.

ดังนั้น ถ้าสังเกตุดูให้ดี ก็จะเห็นว่า ศาลตัดสินให้เฉพาะ ตัวปราสาทเขาพระวิหาร Temple of Preah Vihear เท่านั้น ที่อยู่ในเขตแดนของเขมร

ประเทศไทย อัญเชิญ ธงชาติไทย ออกจากบริเวณปราสาท โดยตัดเสาธง แล้วยกออกทั้งเสา จึงไม่มีการชักธงลงจากเสาเลย

ต่อมาเสาธงนี้ เป็นส่วนหนึ่งของเสาธงที่ มออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร

คณะรัฐมนตรีของไทย ก็ประชุมอนุมัติให้ เอารั้วลวดหนามติดตั้งกั้นเป็นเขตุแดน

 

โดย จากเขมร จะขึ้นมาตัวปราสาท ได้ตามเส้นทางเดิน ที่เรียกว่า ช่องบันไดหัก อยู่ทางด้านตะวันออกของปราสาท

หรือทางด้านขวาของภาพข้างบน ใกล้เส้นสีเหลืองตัดกับเส้นสีแดง

เป็นทางที่สูงชัน ซึ่ง เจ้านโรดม สีหนุ ก็ใช้เส้นทางนี้ ขึ้นมาที่ตัวปราสาท หลังคำตัดสินพิพากษาของศาลโลก

โดยระหว่างทางบางช่วงที่สูงชัน ต้องประทับบนแคร่ ให้คนอื่นช่วยยกให้

เนื่องจากขณะนั้น ชายแดนตรงนั้น เป็นรั้วลวดหนาม ห่างจาก ช่องบันไดหัก ออกไป ๒๐ เมตร( หมายเลข ๑) ลากเป็นเส้นตรง ถึงจุด ต่ำห่างจากหัวพญานาค ๒๐ เมตร ( หมายเลข ๒ ) ของจุดเริ่มของบันไดพญานาคที่ยาวมี ๑๖๒ ขั้น ที่เป็นต้นทางขี้นไปยังศาลาจตุรมุข ๑ หรือ โคปุระ (ซุ้มประตู) ( หมายเลข ๔ )

จากรูปภาพข้างบน จะเห็นว่า ตรงจุดเขตประตูทางเข้า ตามมติคณะรัฐมนตรี  ตั้งห่างจากหัวพญานาค ลงมา ๒๐ เมตร

เป็นประตูลวดตาข่าย และมีลวดหนาม  โดยใช้เป็นเขตแดนของไทยกับเขมรตรงจุดนี้ กันมานานราว ๔๐ ปี เพราะศาลตัดสินเฉพาะเขตของตัวปราสาทเท่านั้น ไม่ได้ตัดสินเกี่ยวกับเขตแดนที่ใกล้เคียงแต่ประการใดเลย ประเทศไทย จึงแบ่งเขตบริเวณตัวปราสาทโดยให้เขมรขึ้นมาได้ ตรงบริเวณที่เรียกว่า ช่องบันไดหัก

ส่วนบริเวณตัวปราสาท ที่ขึ้นทางด้านไทย ก็ใช้ รั้วแบ่งกั้น ต่ำจากบันไดหัว พญานาค ลงมา ๒๐ เมตร อย่างเหมาะสม ตรงกับคำตัดสินของศาลโลก

ส่วนร้านค้าตรงเชิงบันไดด้านล่างสุด ก่อนเดินขี้นมา ร้านค้าเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นร้านของคนไทย

ที่เสียค่าเช่าธรรมเนียมร้านค้าให้ฝ่ายไทย เพราะถือว่าอยู่ในเขตของไทย

คนไทยที่ไปซื้อของ แต่ถ้าไม่ขึ้นบันไดผ่านหัวพญานาค ก็ไม่ต้องเสียค่าผ่านประตูให้เขมร

 

แผนที่ที่ทางฝ่ายไทยใช้ตั้งแต่หลังคำตัดสินของศาลโลก ตามแนวสันปันน้ำตามสนธิสัญญา แต่ยอมตัวให้ตัวปราสาทตามคำตัดสิน

 

 

จนถึงสมัยทักษิณ พศ ๒๕๔๔ เขมรก็สร้างประตูทางเข้าใหม่ เลื่อนลงมาทางฝั่งไทย จนติดดิน

แล้วเขมรก็ยึดพื้นที่ ตรงเชิงบันไดด้านล่างและใกล้เคียงทั้งหมด

  

โดยทางรัฐบาลทักษิณ สั่งไม่ให้ทหารไปขัดขวาง จึงกลายเป็นพื้นที่ของเขมรไปอย่างง่ายได้

เสร็จแล้ว ตอนแรก เขมรก็สร้างมีร้านค้าของเขมร ข้างประตู ด้านเดียวทางทิศตะวันออกก่อน

 

 ต่อมาเขมรสร้างร้านค้ามากขึ้น ทั้ง ๒ ข้างประตู

แล้วจากเขมรก็สามารถขึ้นมายังตัวประสาทอีกทาง นอกจากช่องบันไดหัก โดยเดินอ้อมมาตามไหล่เขา ทางตะวันตกของปราสาทเป็นระยะทางไกลกว่า

แต่ชันน้อยกว่าตรงช่องบันไดหัก เนื่องจากเขมรยึดพิ้นที่ให้ไปอยู่ในเขตของเขมรไปหมด โดยไม่มีการคัดค้านในสมัยรัฐบาลทักษิณ เมื่อปี ๒๕๔๔

จากทางเขมรด้านล่าง จะเห็น ปราสาทอยู่บนเขาสูงประมาณ ๕๐๐ เมตร

ทางขี้นตัวปราสาทเขาพระวิหาร จากทางด้านเขมรจะเป็นถนนขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อหรือไม่ก็เต็มไปด้วยหินที่สลักหักพัง

 

เมื่อปี พศ ๒๕๕๑ นาย นพดล ปัทมะ รมต ตปท สมัยรัฐบาลสมัคร สนับสนุนเขมร ที่เสนอปราสาทพระวิหารต่อ UNESCO โดยใช้แผนที่

 

มิหนำซ้ำ แผนที่ที่นพดลเอามาแสดง ตอนแถลงข่าวว่า แผนที่แผนผังใช้ในการรับรองสนับ สนุนให้ปราสาทเป็นมรดกโลก แล้วไทยไม่เสียดินแดนนั้น
ก็ปรากฎว่า ตามรูปที่แนบมานี้ จาก แผนที่นั้นทางฝ่ายเขมรเขาได้พื้นที่เกินนอกบริเวณตัวปราสาทตรงพื้นทีรูป สีเหลียมคางหมูเดิมไปแล้ว คือ พี้นที่ตรงที่กา XXX ไว้ให้เห็นทางซ้ายมือหรือทางทิศตะวันตก และ พี้นที่ทางเหนือของบริเวณปราสาทใต้ เส้นประสีแดง จากบริเวณทีเขียนว่า พื้นที่ซับซ้อน ก็เรียกว่า เขาได้พื้นที่ซับซ้อนไปอย่างง่ายๆ

ากภาพแผนที่ข้างล่างนี้ ที่ทาง นาย นพดล รมต.กระทรวงต่างประเทศของไทย เอามาแถลงข่าว โดยบอกว่าเขมรแก้ไขแล้ว จึงได้สนับสนุนให้เป็นมรดกโลก ก็จะเห็นว่่า บริเวณ ตัวบันไดทั้งหมด และพื้นที่ทางตะวันออกของตัวปราสาททั้งหมด อยู่ในเขตเขมรไปแล้วมากกว่าที่ศาลโลกตัดสินเสียอีก

ตอนนี้ที่กำลังยุ่งกัน ระหว่างไทยกับเขมร ส่วนหนึ่งก็เพราะจะเอาแผนที่มาตรา หรือ ระวาง ๑ ต่อ ๒ แสน เข้ามาเกี่ยวข้อง แผนที่แบบนี้ เป็นแผนที่ แบบหยาบ ไม่ละเอียด เพราะเพียงแค่จุดหมีกปลายปากกา หรือ จุดปลายดินสอ ๑ มิลลิเมตร ก็จะเท่ากับ พี้นที่จริง ๒ แสน มิลลิเมตร หรือ ๒๐๐ เมตร

ลองคิดเปรียบเทียบดู ก็แล้วกัน ขนาดความยาวของสนามฟุตบอล Soccer มาตราฐานโอลิมปิคสากล ก็แค่เพียง ๑๐๐ เมตร เท่านั้น ถ้า ๒๐๐ เมตร ก็จะยาวเหยียด

เขาจึงไม่เอาแผนที่แบบนี้ มาเป็นหลักสำคัญในการวัดแบ่งเขตต่าง เพราะจะคลาดเคลื่อนกันไปมากมาย

แล้วคงจะยุ่งกันอีก เพราะองค์กร มรดกโลก บอกว่า ตัวปราสาทเขาพระวิหาร มีแกนยาวมากกว่า ๘๐๐ เมตร แต่ไม่ได้บอกว่า ยาวจริงๆเท่าไร

แถมบอกว่า มีเนื้อที่ Property : 155 ha ซี่งมากกว่า ๕ เท่าของที่รัฐบาลไทยสมัยจอมพลสฤษดิ์กำหนดไว้ หลังคำพิพากษาของศาลโลก พศ ๒๕๐๕

http://whc.unesco.org/en/list/1224

ขอให้ สังเกตกันให้ชัดๆ คือ คำตัดสิน ที่ถ่ายมาให้เห็น


...เจ้าหน้าที่ไทยอาจะได้โยกย้ายไปจาก ปราสาท หรือ บริเวณพระวิหาร...



แล้ว คำตัดสิน ก็บอกไว้อย่างชัดเจน ให้เห็นอีกว่า


...ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขต ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา....


ก็จะเห็นว่า คำตัดสิน ที่เกี่ยวกับ
อาณาเขต ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาไม่มีคำว่า บริเวณพระวิหาร อยู่ด้วย และ ไม่มีคำว่า ดินแดน ตามที่เขมรขอเช่นกัน

ดังนั้น เมื่อศาลโลกตัดสินแล้ว
การที่ทางไทย ตีความหมายว่า เฉพาะตัวปราสาท เท่านั้น ไม่รวมบริเวณใกล้เคียง ตั้งอยู่ในอาณาเขต ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา.. จึงถูกต้อง ตามคำตัดสินของศาลโลกทุกประการ

 ซึ่งเรื่องนี้ ดร. สมปอง สุจริตกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต สรุปไว้ดังนี้

ปฏิบัติการของไทย

แม้ศาลยุติธรมระหว่างประเทศจะไม่มีอำนาจบังคับคดี แต่เพื่อแสดงความเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การสหประชาชาติ ไทยได้ดำเนินการถอนบุคลากรจากปราสาทพระวิหารและได้ล้อมรั้วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบตัวปราสาทตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย   และได้ย้ายเสาธงไทยออกจากบริเวณปราสาทโดยไม่มีการลดธง  ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้กัมพูชาส่งบุคลากรเข้าไปในบริเวณปราสาทโดยไทยมิได้สละอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ซึ่งปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ หรือยอมรับนับถืออธิปไตยของกัมพูชาแต่อย่างใด  บริเวณที่ตั้งของตัวปราสาทจึงเป็นพื้นที่เดียวซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน

ปฏิกิริยาของกัมพูชา

หลังจากไทยได้ถอนบุคลากรจากประสาทพระวิหารตามคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กัมพูชาก็ยอมรับสภาพโดยดี และมิได้โต้แย้งในการที่ไทยได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาและตั้งข้อสงวนไว้อย่างชัดเจน กัมพูชานิ่งเฉยตลอดระยะเวลา ๕ ทศวรรษโดยมิได้เรียกร้องอะไรอื่นอีก

กัมพูชาเริ่มมีปฏิกิริยาเมื่อประมาณ ๕-๖ ปีมานี้ โดยแสดงเจตน์จำนงที่จะขยายอาณาเขตรุกล้ำเข้ามาในพระราชอาณาเขตของประเทศไทย เริ่มจากรื้อรั้วที่ไทยสร้างไว้รอบปราสาท  นอกจากนั้น คนชาติกัมพูชายังลอบเข้ามาตั้งถิ่นฐานในวนอุทยานเขาพระวิหารในเขตแดนไทยรวมทั้งตั้งร้านค้าและแผงลอยซึ่งเพิ่มมากขึ้นตามลำดับเพื่อขายสินค้าให้นักทัศนาจร

พื้นที่ทับซ้อน

การกล่าวถึง พื้นที่ทับซ้อน ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนนั้น  กัมพูชาได้พยายามขยายขอบเขตคำพิพากษาของศาลฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยแอบอ้างว่าศาลให้ความเห็นชอบแผนที่ผนวก ๑ ซึ่งปราศจากมูลความจริง ทั้งนี้ เนื่องจากในคำพิพากษานั้นเอง ศาลฯ ได้พิจารณาและวินิจฉัยว่าแผนที่ผนวก ๑ ท้ายคำฟ้องของกัมพูชามีข้อผิดพลาดตามที่ปรากฏในรายงานคณะผู้เชี่ยวชาญฝ่ายไทย ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายกัมพูชาไม่อาจหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่า เส้นสันปันน้ำ บนขอบหน้าผาคือเส้นเขตแดนที่แท้จริงระหว่างไทยกับกัมพูชา เส้นเขตแดนดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนไทย

อายุความฟ้องร้อง

ปัญหาเรื่องอายุความฟ้องร้องไม่เป็นประเด็นในกฏหมายระหว่างประเทศนอกจากในกรณีที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องคดีต่อศาลหนึ่งศาลใดที่มีอำนาจพิจารณาข้อขัดแย้งระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง หากจะกล่าวถึงศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปัจจุบัน อายุความ ๑๐ ปีมีอยู่กรณีเดียว  กล่าวคือการร้องขอให้ทบทวนคำพิพากษาตามข้อ ๖๑ วรรค ๕ แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรม

ในกรณีปราสาทพระวิหาร การกล่าวถึงอายุความ ๑๐ ปีนั้นใช้เฉพาะสิทธิของคู่คดีซึ่งได้แก่ไทยหรือกัมพูชาที่จะร้องเรียนให้ศาลทบทวนคำพิพากษาเดิมเท่านั้น  ฉะนั้น หากไทยหรือกัมพูชาดำริให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศทบทวนคำพิพากษาปีพ.ศ. ๒๕๐๕ ก็จะเป็นการสายเกินไป  ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดดำริที่จะกระทำเช่นนั้น

ส่วนกรณีอื่นๆ เช่นการเพิกถอนหรือตีความคำพิพากษา การฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ หรือระงับกรณีพิพาทโดยอาศัยกลไกอื่น อาทิ ศาลอนุญาโตตุลาการ ฯลฯ ซึ่งไทยหรือกัมพูชามิได้กระทำการแต่อย่างไร  ปัญหาเรื่องอายุความจึงยังไม่เป็นประเด็น

 

อายุความข้อสงวน

ข้อสงวนของรัฐบาลไทยต่อคำพิพากษาของศาลในคดีปราสาทพระวิหารซึ่งไทยได้แจ้งไปยังเลขาธิการสหประชาชาติในหนังสือลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ พร้อมทั้งส่งเวียนให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติรับทราบทั่วกันโดยไม่ปรากฏว่ามีประเทศหนึ่งประเทศใดโต้แย้ง ทักท้วง หรือค้ดค้านแต่ประการใดนั้น  เป็นข้อสงวนที่ปลอดอายุความ  มีผลตลอดกาลตราบใดที่ยังอยู่ใต้บังคับของกฏหมายระหว่างประเทศ การที่ข้อสงวนดังกล่าวมิใช่เป็นการทบทวนคดีเก่าซึ่งต้องกระทำภายในกำหนดเวลาที่จำกัดไว้ จึงยังมีผลบังคับจนทุกวันนี้ยกเว้นจะถูกเพิกถอนหรือยกเลิกอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลไทย

ศาสตราจารย์ ดร. สมปองสุจริตกุล*    ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒

http://www.praviharn.net/index.php?option=com_content&view=article&id=94&Itemid=114

http://www.praviharn.net/index.php?option=com_content&view=article&id=47&Itemid=64

จากการตัดสินของศาลโลก เมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

http://www.icj-cij.org/docket/files/151/17704.pdf

สรุปได้จากคำอธิบายของ Bangkok Post .  Nov 12. 2013 มีดังนี้

The ICJ made clear in its decision yesterday that it was dealing strictly with a dispute regarding territorial sovereignty over the area in which the Preah Vihear temple is located and and not a question of marking the frontier between the two countries. 
The court admitted that the Annex 1 map, which Cambodia relied on to support its claim for the disputed territory, is an integral part of the case but declined to use it as a reference to mark the boundary over a wider area. The court declared that Thailand was under obligation to withdraw from the areas judged as being under Cambodian territory, its military or police forces, or other guards or keepers that were stationed there.

The court president, however, noted that since the temple of Preah Vihear is a site of religious and cultural significance for people in the whole region and listed as a World Heritage site by Unesco, both parties must cooperate between themselves and with the international community in protecting it. Thailand and Cambodia are also obligated not to take any deliberate measures which might cause direct or indirect damage to the site, the court said.