HTML hit counter - Quick-counter.net

ประวัติการก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่แห่งสหรัฐอเมริกา
รวบรวมโดย นพ. ธนิต หาสาสน์ศรี

มช. ครบรอบ 20 ปี เมื่อ 1984 ศิษย์เก่ารุ่นแรก(รหัสประจำตัวขึ้นต้นด้วย เลขปี 07)ในรัฐแคลิฟอร์เนียทั้งหมด พบกันที่บ้านคุณหมอ เธียร-วิไลวรรณ ธาริน โดยขาด นพ.วีรวุฒิ ภัทรศิริกุล เพียงคนเดียว เพราะอยู่ไกลเกือบติดรัฐโอเรกอน

จากซ้ายไปขวา นพ.เธียร ธาริน(ธิติวรณะ) ดร.การุณ รุจนเวชช์ นพ.รัธชัย(เกรียงศักดิ์) ฤทธาภรณ์ คุณนิภา Halim(ไวสุนีย์) คุณสมพงษ์ โพธิคม พญ.วิไลวรรณ ธาริน(จูประเสริฐ)คุณจันทร์เพ็ญ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ศุภผลธุระการี) พญ.ยุพิน ประไพศิลป์(วาณิชย์เจริญ) ดร.นฤจร อิทธิจีรจรัส และ นพ. ธนิต หาสาสน์ศรี

พอ มช. ครบรอบ 30 ปี เมื่อ 1994 ลูกช้างศิษย์เก่าทุกคณะทุกรุ่น มาพบกันที่ร้านอาหารบนชั้น 2 ของไทยแลนด์พลาซา ฮอลลีวูด ลอส แองจาลิส ส่วนหนึ่งมีในรูปข้างล่างนี้

เดือนกันยายน 2001 ดร. นิพนธ์ ตุวานนท์ อธิการบดี มช. ซึ่งเป็นศิษย์เก่ารุ่นแรก รหัส 07 และคณะ เดินทางมาราชการเพื่อโครงการการศึกษาร่วมระหว่าง มช.กับ ม.ในสหรัฐ อเมริกา แล้วคุณหมอเธียรจัดการต้อนรับ และนัดให้พบกับศิษย์เก่ามช. ที่วัดไทย ลอสแองเจอลิส

จากซ้ายไปขวา นพ.ธนิต ดร.นิพนธ์  นพ.รัธชัย นพ.เธียร พญ.วิไลวรรณ ศิษย์เก่ารุ่นแรก รหัส 07

ดูภาพเพื่ม ได้ที่ http://www.cmualumniusa.org/cmu.html แล้วมีการตกลง จัดตั้งสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่แห่งสหรัฐอเมริกาขึ้น โดยผู้ที่มาพบกันในวันนั้นตกลงให้ คุณสุชาดา(แดง) ศรีประศาสตร์(รหัส 09) รับตำแหน่ง นายกสมาคมฯ

13 กุมภาพันธ์ 2002 ทางสมาคม จดทะเบียนกับรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นองค์กรสาธารณะไม่ค้ากำไร ถูกต้องตามกฏหมาย โดยมีธรรมนูญ (Bylaws) และข้อกำหนด (Articles) ขององค์กรไว้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์และ ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดไว้ใ นการจดทะเบียน มีชื่อ เจ้าหน้าที่ (Officers) ของสมาคม 3 ท่านคือ คุณสุชาดา ศรีประศาสตร์(รหัส 09) เป็น นายกสมาคม คุณบรรรลือ สอนบาลี (รหัส 27) เป็นเลขานุการ และคุณอัญชลี วิเวกาภิรัต (รหัส 14) เป็นเหรัญญิก ตามลำดับ


ธรรมนูญ (Bylaws) ของ สมาคมได้จำแนกบุคคลากรของสมาคมเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้
1. Members หมายถึงบุคคลที่ได้กรอกใบสมัครเป็นลายลักษณ์อักษรและจ่ายค่าสมาชิกตามข้อกำหนด โดยที่ Member ที่จะมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง หรือลงสมัครรับเลือกตั้ง ต้องเป็น Member in good standing คือจ่ายค่าสมาชิก ครบถ้วน และไม่ถูก Suspend
2. Officers หมายถึงเจ้าหน้าที่กรรมการดำเนินงานของสมาคม ประกอบด้วย President, Vice President, Secretary, และ Treasurer โดยที่ตาม Bylaws กำหนดให้ Board of Directors เป็นผู้เลือก Officers แล้ว Officers มีอายุการทำงานครั้งละ 1 ปี เป็นได้ไม่เกิน 2 ปีติดกัน
3. Board of Directors หมายถึงคณะกรรมการอำนายการ เป็นผู้กำหนด และ ควบคุมนโยบาย มีหน้าที่จัดตั้ง Officers, Standing Committee, Approve work ของ Committee, จัดหา Auditor มาตรวจสอบบัญชีของสมาคม, กำหนดและจัดการ
เรื่องงบประมาณของสมาคม, อนุมัติค่าใช้จ่าย 4. Standing Committee หมายถึงคณะทำงานเฉพาะกิจ ที่ Board of Directors แต่งตั้งขึ้นมาทำ งานพิเศษบางอย่าง เช่น กรรมการแก้ไข Bylaws, กรรมการจัดงาน 40 ปีราตรีอ่างแก้ว เป็นต้น

ตามธรรมนูญของสมาคมฯ ที่จดทะเบียนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2002 มีข้อกำหนดที่ 5 หัวข้อ 1.1 กำหนดไว้ว่าเจ้าหน้าที่ของสมาคม (Officers) มีอายุครั้งละ 1 ปี โดยได้ มาจากการเลือกตั้งของคณะกรรมการอำนายการ (ฺBoard of Directors) และต้องเลือก ในวันจันทร์แรกของเดือนที่ได้จดทะเบียนไว้ ถ้าวันจันทร์นั้นไม่ตรงกับวันหยุดตามกฏหมาย
ดังนั้นสมาคมก็ควรจะมีการเลือกตั้งให้เสร็จสิ้นถูกต้องตามกฏเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2003 แต่ถึงแม้ว่าสมาคมจะมีผลงาน มีการประชุมพบปะกันบ่อยครั้ง แต่ก็ไม่ได้ปฏิบัติตามธรรมนูญ และข้อ กำหนดให้ถูกต้องในการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งอย่างใด
เมื่อคุณสุชาดา ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากสุขภาพไม่ดี เมื่อเดือน April 2003 ก็ไม่รู้ว่า จะต้องทำอย่างไร จึงขอให้คุณสุชาดารั้งตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะหาคนมารับตำแหน่งแทน นอกจากนั้นแล้วคุณสุชาดาบอกว่าจะกลับเมืองไทยนานหลายเดือน ตั้งแต่ ปลายปี 2003 จะกลับมาอีกครั้งตอนเดือนมีนาคม 2004
ในขณะนั้นไม่มี Board of Directors ที่จะมาจัดการเรื่องนี้ ให้ถูกต้องต่อเนื่อง และถ้าไม่มีการจัดการอะไรเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ การดำเนินงานของสมาคม ก็อาจติดขัดขาดตอนได้ เพระขณะนั้นสมาคมฯ อยู่ในระหว่างการเตรียมการจัดงานฉลอง มช.ครบรอบ ๔๐ ปีกัน
เนื่องจากตัวผู้เขียน นายแพทย์เธียร แพทย์หญิง วิไลวรรณและนายแพทย์ รัธชัย ฤทธาภรณ์ ซึ่งเป็นศิษย์เก่า มช. รุ่นแรก พวกเราประกอบ อาชีพแพทย์ในสหรัฐอเมริกา มานาน โดยอาชีพแพทย์ที่นี่นั้นเกี่ยวข้องกับองค์กรต่างๆ ทั้ง ค้ากำไร,ไม่ค้ากำไร ทั้งสาธารณะ และนิติบุคคล รวมทั้งกิจการของรัฐหรือส่วนตัว พวกเราทราบ ถึงความสำคัญของ ธรรมนูญ และข้อกำหนดที่องค์กรจะต้องปฏิบัติตาม ถ้าฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม แล้วถูกทางการตรวจพบ สมาคมองค์กรก็อาจถูกปรับถูกเสียภาษีหรือถูกยุบได้
พวกผมมีความห่วงใยในสมาคม ที่เพิ่งจะเริ่มตั้ง เพราะเห็นความขาดตกบกพร่องในการดำเนินงานของสมาคมฯ เช่น งานต่างๆที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นงานของสมาคมฯเอง หรืองานที่กี่ยวกับสังคมภายนอก ก็มักจะทำกันด้วย คนไม่กี่คน ไม่ได้ติดต่อกับสมาชิกส่วนใหญ่ แล้วทางด้านสมาชิก ก็มีปัญหา โดยที่สมาชิก ที่ขาดอายุก็ไม่มีการติดตามให้ต่ออายุจากสมาคม, การไม่ปฏิบัติตามธรรมนูญ, การดำเนินงานที่ไม่ได้ เป็นไปอย่างมีรูปแบบและหลักการที่ถูกต้อง เหล่านี้ พวกผมจึงพยายามที่จะให้ สมาคมของเรา มีคณะกรรมการอำนวยการ (Board of Directors)ให้ถูกต้อง เพราะการบริหารดำเนินงานของสมาคม ด้วยคนหลายๆคนย่อมดีกว่าคนเดียวหรือคนจำนวนน้อย และที่สำคํญที่สุด คือ การทำทุกอย่างให้ถูกต้อง ตามกฏเกณฑ์ของ bylaws อันจะเป็นรากฐาน ที่ดีของการทำงานสมาคมของต่อไปในภายหน้า และก็มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าอีกด้วย
เดือนสิงหาคม 2003 ก็มีการเตรียมการจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการ (Board of Directors) ที่บ้านคุณหมอ เธียร-วิไลวรรณ ธาริน ได้มีการเสนอชื่อศิษย์เก่าทั่วประเทศสหรัฐ แต่หลังจากการประชุมวันนั้นแล้ว ก็ไม่มีผู้ใดสานต่อ ไม่มีการติดต่อถึงบุคคลนั้นๆว่าจะยอมรับหน้าที่ Board หรือไม่ พวกผมจึงได้พยายามที่จะจัดตั้งอีกครั้ง ในการประชุมที่ร้านครัวคุณยายเมื่อวันที่ 9 November 2003 ซึ่งก่อนการประชุมที่ร้านครัวคุณยายนี้ แพทย์หญิงวิไลวรรณติดต่อกับ คุณสุชาดา ให้เอาเรื่องการจัดตั้ง Board of Directors เข้าที่ประชุม เพราะญัตตินี้เป็นเรื่อง ของสมาคมฯ แต่คุณสุชาดาบอกว่าไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้เท่าไหร่ จึงขอให้คุณหมอวิไลวรรณเป็น ผู้จัดการแทน ซึ่งในที่ประชุมวันนั้น สมาชิกบางท่านยังไม่พร้อม ขอให้เลื่อนการเลือกตั้ง Board of Directors ไปหนึ่งอาทิตย์ จะได้มีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น จึงตกลงให้มีการประชุมสมาชิกทั้งหมดที่ Holiday Inn Express, Van Nuys ในวันที่ 15 November 2003
การประชุมที่ Holiday Inn Express วันที่ 15 November 2003 มี สมาชิกจำนวน 21 คนเข้าร่วมประชุม ที่ประชุมสมาชิกส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจัดตั้ง Board of Director และเห็นควรให้มีการจัดตั้งทันที ไม่ควรรอจนภายหลังจัดงาน 40 ปี ราตรีอ่างแก้วแล้ว และด้วยเหตุต่างๆ ก็ตกลงให้เลือกตั้ง Board of Directors กันเลย โดยมีข้อแม้ว่ากรรมการอำนวยการ Board of Directors ชุดนี้เป็นแค่ชุดชั่วคราว ที่จะเข้ามาดำเนินการให้มีการเลือกตั้งกรรมการชุดถาวรให้เสร็จภายใน เดือนมิถุนายน 2004 ดังนั้นจึงตกลงและเลือกตั้งสมาชิกที่ อาสาสมัครจำนวน 9 คน ขึ้นเป็นคณะกรรมการอำนวยการ Board of Directors ดังนี้คือ คุณพิสมัย ตันพัฒนเจริญ คุณอำไพ โกมุตรัตนานนท์ นพ. เธียร ธาริน นพ. รัธชัย ฤทธาภรณ์ นพ. ธนิต หาสารสน์ศรี คุณเผชิญ เพรชจำรัส คุณอมราวรรณ เกิดภู่ คุณบรรลือ สอนบาลี คุณอัญชลี วิเวกาภิรัต และ Board of Directors ได้ออกเสียงเลือก นพ. เธียร ธาริน ขึ้นเป็นประธานของ Board
ท่านผู้อ่านที่ไม่คุ้นเคยกับระบบวิธีการดำเนินการขององค์กรหรือสมาคมต่างๆ ที่ถูก ต้องตามกฏหมายของสหรัฐอเมริกา คงจะสงสัยว่าทำไมจึงต้องมีทั้งคณะกรรมการอำนวย การ Board of Directors ซึ่งบางที่ก็เรียกว่า คณะกรรมการบริหาร เรียกเป็นภาษาอังกฤษสั้นๆว่า Board และยังมี นายกสมาคมอีกด้วย ที่ต้องมี 2 ชุดแบบนี้ ก็คงเป็นเพราะระะบบประชาธิปไตยของ สหรัฐอเมริกา ที่ได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมา ซึ่งขณะนี้สมาคมองค์กรต่างๆของคนไทย ที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องก็มี Board และนายกเช่นกัน แต่วิธีการคัดเลือก เลือกตั้ง หรือ แต่งตั้ง ค็แตกต่างกันไปตามแต่ละองค์กรหรือสมาคม โดยบางแห่งก็กำหนดให้สมาชิก เลือกตั้ง Board และนายก บางแห่งก็กำหนดให้สมาชิก เลือกตั้ง Board แล้ว Board เป็นผู้แต่งตั้งนายก และเจ้าหน้าที่ต่อไป ซึ่งรัฐธรรมนูญและข้อกำหนดของสมาคมศิษย์เก่า มช.แห่งสหรัฐอเมริกา ให้ใช้วิธีหลังนี้
ดังนั้นเมื่อมีการเลือกตั้ง Board อย่างถูกต้องขึ้นมาแล้ว Board ก็มีการประชุมแต่งตั้ง นายกและเจ้าหน้าที่เป็นครั้งแรก เมื่อเดือน ธันวาคม 2003 โดยขอให้เจ้าหน้าที่ชุดเดิมทั้ง 3 ท่าน ทำหน้าที่ต่อไปจนหมดวาระตามธรรมนูญ คือเดือนกุมภาพันธ์ 2004 แต่คุณบรรลือ ขอไม่รับตำแหน่งเลขานุการต่อ ทาง Board จึงตกลงแต่งตั้งให้คุณอมราวรรณ เกิดภู่เป็นเลขานุการ และให้คุณเผชิญ เพชรจำรัส เป็นรองนายกสมาคม ตามตำแหน่ง ที่มีกำหนดไว้ในธรรมนูญ
ครั้นถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2004 เจ้าหน้าที่สมาคม อันได้แก่ นายก รองนายก เลขานุการและเหรัญญิก ก็หมดอายุตามวาระอีกครั้งหนึ่ง ทาง Board จึงได้แต่งตั้ง คุณเผชิญ เพชรจำรัส ให้รักษาการนายกสมาคมสืบแทนคุณสุชาดา ที่มีจดหมายขอลาออกไปก่อนแล้ว และทาง Board ได้แต่งตั้ง คุณอัมรัตน์ วิภาคหัตถกิจ เป็นรองนายกสมาคม คุณอมราวรรณ เกิดภู่ เป็นเลขานุการ คุณอัญชลี วิเวกาภิรัต เป็น เหรัญญิก โดยเจ้าหน้าที่ชุดนี้ก็เป็นชุดชั่วคราว ที่จะมีอายุจนถึงเดือนมิถุนายน 2004 นี้เช่น เดียวกับ Board
สรุปได้ว่า นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2003 ทางสมาคมมีคณะกรรมการอำนวยการ มีเจ้าหน้าที่ถูกต้องตามกฏข้อบังคับ และในดือนมิถุนายน 2004 สมาชิกก็มีการเลือกตั้ง Board และ Officer ชุดใหม่ขึ้นมา โดยจะมีอายุจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2005
คงจะเป็นเพราะการจัดตั้ง Board of Directors อันประกอบด้วยจำนวนหลายคน จึงส่งผลให้มีการรวมพลังของศิษย์ เก่ามช.ใน USA.ให้มาร่วมช่วยงาน 40 ปี กันอย่างล้นหลาม ทำให้งานหรูหรายิ่งใหญ่สำเร็จได้อย่างดีเยี่ยม และยังช่วยให้การบริหารงานของ สมาคมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีช่องว่าง สำหรับผลงานอื่นๆของ Board และ Officer ชุดปัจจุบัน จะเสนอให้สมาชิกทราบ เป็นระยะๆในโอกาสต่อไป หาอ่านได้ที่เวบไซด์ของสมาคมที่ http://www.cmualumniusa.org


1